
ก่อนที่จะทำการรีวิว เจ้า Sub Rel จิตสัมผัส รุ่น T7i + Proac D1 ฉบับบ้านๆให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ต้องขอบอกตรงๆก่อนว่า
ผมนี่เป็นคนไม่ชอบฟังเพลงที่มีเบสตูมตาม เท่าไรนัก เพราะผมเป็นคนที่เกลียดและแอนตี้การฟังเพลงโดยต่อ Sub
หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าการฟังเพลงแบบ 2.1 มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว 
เพราะในชุดฟังเพลง 2 CH โดยทั่วไป ผมมองว่ามันควรจะจบที่ลำโพงคู่หน้าแค่ 1 คู่ก็เพียงพอต่อการรับฟังแล้ว ถ้าเราเริ่มจากลำโพงวางหิ้ง 1 คู่ เมื่อฟังไปซักพักใหญ่
แล้วรู้สึกว่าลำโพงมันไม่ตอบโจทย์เรา ฟังเพลงที่กระแทกกระทั้น เบสมันไม่ตึบ หรือฟังเหมือนมันขาดเรี่ยวแรง เปิดดังแทนที่จะหนักแน่น กับเกิดอาการพร่าฟังแล้วหนวกหู
เคสนี้เป็นผมก็คงขยับจากการเปลี่ยนแอมป์ก่อน สาเหตุอาจจะมาจากเราเลือกแอมป์ที่ขับลำโพงไม่ไหว หรือกรณีที่เปลี่ยนแอมป์ไปแล้ว เสียงดีขึ้น ขับลำโพงสบายขึ้น
เบสมาดั่งใจ แต่เสียดายมันกลับลงไม่ลึกพอ นั่นหมายถึงเวลาที่คุณจะต้องขยับลำโพง เป็นรุ่นที่ใหญ่ขึ้น หรือถ้าห้องคุณมีพื้นทีพอ ก็เปลี่ยนไปเล่นลำโพงตั้งพื้นประเภท 2 ทางครึ่ง
หรือสามทางก็ว่ากันไป หลักๆมันก็มีเท่านี้กับการฟังเพลง 2 CH ตามความเข้าใจผม หรือบางคนที่ชอบอะไรตูมตาม มากกว่าปกติ
เขาก็เลือกเล่นอีกวิธีง่ายๆอีกวิธีนั่นคือ การเพิ่ม Subwoofer เข้าไปอีกตัวซะเลย ง่ายดี คราวนี้ละตูมสมใจ
แล้วไหนที่บอกว่าตัวเองแอนตี้ระบบ 2.1 แต่กลับกลืนน้ำลายตัวเองมาเล่นฟังเพลงแบบต่อซับพ่วงเข้าไป แถมหนักขึ้นไปอีก เล่นไปถึง 2.2 CH ซะงั้น
.................. โอ๊ะ ๆ ๆ ๆ อย่า งงครับ เพราะที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มันคือความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงของการนำ Subwoofer มาเล่นในระบบฟังเพลง
แต่มีข้อแม้ว่า "
ต้อง Subwoofer ของ Rel เท่านั้น "
ระบบ 2.1 ทั่วไป อยากให้มองถึง ลำโพงคอม หรือลำโพงประเภท Satellite ลำโพงพวกนี้แน่นอนอยู่แล้วว่า ต้องใช้ร่วมกับ Subwoofer เพราะตัวมันเองไม่สามารถตอบสนอง
ความถี่ต่ำอย่างลำโพงทั่วไปได้ มันจึงต้องมีซับเข้ามาช่วยเติมเต็มเสียงในย่านความถี่ต่ำ ให้เสียงโดยรวมออกมาครบถ้วนทั้ง สูง กลาง ต่ำ ดั่งเช่นลำโพงบ้านทั่วไป
กรณีแบบนี้ถูกต้องครับ ยังไงเล่นลำโพงประเภทนี้จำเป็นต้องมีซับ ...........
แต่ถ้าเราเล่นลำโพงบ้านไม่ว่าจะตั้งพื้น หรือวางหิ้ง ลำโพงพวกนี้ออกแบบมาให้มีเสียงในย่านสูง กลาง ต่ำ เพียงพอต่อการฟังเพลงทั่วไปได้แล้ว
ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องเพิ่ม Subwoofer เข้าไป เพราะเมื่อเรานำ Subwoofer ต่อพ่วงเข้าไปร่วมกับลำโพงหลัก มันก็ไม่ต่างกับเราเล่นปรีซ้อนปรี
เพราะเสียงย่านความถี่ต่ำจากลำโพงหลัก มันจะถูกเสียงความถี่ต่ำจาก Subwoofer ในย่านเดียวกันซ้อนทับเข้าไปอีก ผลที่ได้คือเพลงที่ถูกบันทึกมาแย่กว่าปกติ
อย่างเช่นเพลงที่เบสบางไป เราอาจจะชอบคือฟังแล้วพอดี เพราะมีความถี่ต่ำจาก Subwoofer มาเสริม แต่ถ้าเพลงที่บันทึกมาปกติ
หรือเพลงที่มันกระแทกกระทั้นอยู่แล้ว นั่นละเราจะรู้สึกว่ามันอึดอัด ภายในห้องจะอบอวลไปด้วยบรรยากาศของคลื่นความถี่ต่ำเต็มไปหมด
เสียงกลางแหลมจะถูกกลบกลืนหายไป การเล่นระบบนี้ผมจึงมองว่ามันยังไม่ใช่ เพราะเป็นการเล่นเพื่อให้ได้ เสียงความถี่ต่ำตัวเดิม โน๊ตตัวเดิม แต่มีสเกลใหญ่ขึ้น
ดังขึ้นเกินความเป็นจริง ซึ่งแน่นอนความบาลานซ์ของเสียงก็เสียไปด้วย ไม่ราบลื่น เพราะอาการเหลื่อมของเสียง จากการเดินทางของคลื่นความถี่ต่ำที่ช้ากว่าลำโพงหลัก

Sub Rel ถูกออกแบบมาให้ทำงานต่างจาก Subwoofer ทั่วไป แม้กระทั่ง Sub Hi-End ทั้งหลายด้วย ความต่างของมันอยู่ที่ช่องต่อแบบ
High level input ซึ่งสามารถตอบสนองการเดินทางของคลื่นความถี่ต่ำได้รวดเร็วกว่าช่องแบบ LFE
แล้วมันต่างกันแค่ไหน ถึงขนาดจะเอาซับมาฟังเพลงต้องเป็น Rel เท่านั้น ลองดูตัวเลขก่อนแล้วกันครับ
ลำโพงใช้เวลา 4 ms ในการทำงาน การต่อซับทางช่อง LFE ใช้เวลา 70-80 ms ในการทำงาน หูเราจะฟังว่าเสียงเหลื่อม เมื่อเสียงห่างกัน 25ms
REL T Series ใช้เวลา
9 msS Series และ
212 SE ใช้เวลา
7 msG Series ใช้เวลา
4 ms !!! โอ๊ะ... ผมไม่ใช่นักวิชาการครับ เพราะนี่ก๊อปคุณชัยวัฒน์มาอีกที .............
หรือใครยังมองภาพไม่ออกว่ามันยังไงละ ผมให้ลองนึกถึงยุคแรกที่วงการทีวี และจอมอนิเตอร์คอมเริ่มมีจอแบนอย่าง LCD เข้ามา ตอนนั้นตื่นเต้นกันยกใหญ่
แต่พอคอหนัง คอเกม ได้สัมผัสมัน ต่างส่ายหน้ากันเป็นแถว เมื่อเล่นเกมที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว หรือแม้กระทั่งหนังแอ๊กชั่น ภาพที่ได้กลับเบลอ ดูแล้วตาลายไปเลย
นั่นเป็นเพราะค่า Response Time ของมันยังสูงมาก
นั่นคือระบบภาพ ซึ่งเสียงก็เช่นกัน ถ้าเราสามารถทำ Subwoofer ให้มีความรวดเร็วในการส่งคลื่นความถี่ต่ำได้รวดเร็วพอที่จะไม่เกิดอาการเสียงเหลื่อมกับลำโพงหลักได้มากเท่าไร
Subwoofer ตัวนั้นก็จะกลายเป็นลำโพง Woofer ตัวที่ 3 ตัวที่ 4 ของลำโพงคู่หลักของเราไปในทันที ซึ่งเหมือนกับทำให้ลำโพงคู่หน้าของเรากลายเป็น ลําโพง full range ก็ไม่ผิด
และช่วงที่ซํบทำงานนั้น ก็ไปชดเชยใน ช่วงที่ลำโพงหลักเริ่ม Roll off ทำให้เสียงไม่ซ้อนทับกับเบสที่ทำลำโพงหลักทำงาน

เอาละ เขียนเรื่องของ Subwoofer มายาวพอควร คราวนี้ถึงบทรีวิวการเล่น T7i + Proac D1 ของผมให้ฟังกันแล้วครับ
ไหนๆจะแหกกฏของตัวเอง ผมยังคงความเชื่อว่าตราบใดที่เราเล่นลำโพง 1 คู่มีซ้ายมีขวา และการที่ผมจะเอา Sub Rel มาเติมเต็มย่านความถี่ต่ำ
ที่ลำโพงหลักอย่าง D1 ให้ไม่ได้ ถ้างบไหว ก็ขอจัดซับคู่ ซ้ายและขวาแยกออกกันไปเลย
T7i ตัวตู้เล็กดีครับไม่ใหญ่มาก โดยจะมีลำโพง Woofer ให้ 2 ตัว ตัวหน้าขนาด 8 นิ้ว เป็นระบบ Active (ใช้แอมป์ 200 Watts (RMS) เป็นตัวขับเคลื่อน)
และอีกตัวอยู่ด้านล่างขนาด 10 นิ้ว ทำงานแบบ Passive ยิงลงพื้นอีกตัว

การเชื่อมต่อซับแต่ละตัว ต่อสาย
Speakon Interconnect เข้าที่ช่อง High Level input ที่ด้านหลังของตัวซับ
และสายอีกด้านนึงต่อเข้าที่ช่องต่อลำโพงของ Rotel RA-1570 ตรง Speaker B แต่ถ้าแอมป์ใครมีขั้วต่อลำโพงชุดเดียว ก็ให้ต่อจั้มเขากับขั้วลำโพงหลักได้เลย
Speakon connector : คืออะไรSpeakon หรือบางทีก็เรียก SpeakOn เป็นหัวเชื่อมต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Neutrik ผู้ผลิตหัวเชื่อมต่อต่างๆในวงการ professional audio
นักดนตรีส่วนมากจะรู้จักกันดี ... สาย jack กีตาร์ผมก็ใช้หัวของ Neutrik เช่นกัน 555 เกี่ยวกันมั้ยเนี่ยผมขอข้ามรายละเอียดปลีกย่อย ของการปรับ และจัดวางนะครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับชุดและห้องของแต่ละคน ครั้งแรกหลังจากต่อครบหมดแล้วก็เริ่มฟัง
โดยตอนนั้นเพลงแรกที่ฟังจำไม่ได้แระว่าเพลงอะไร แต่ขอบอกตามตรงว่า ..... เฉยๆ ไม่เห็นขนลุกขนพองซักเท่าไร เสียงมันคล้ายจะเหมือนเดิมครับ ..........
ด้วยความใจร้อน + ผิดหวัง ..... ที่ Rotel มีรีโมทควบคุม Speaker A-B ผมก็ลองฟังโดยตัดช่อง B ออกไป ซึ่งเป็นช่องต่อ Sub Rel .............
อ้าว ..... ของเดิมก่อนต่อซับเข้าไปเราว่ามันโอแล้วนี้นา แต่พอตัดซับออกไป ไหง Rotel ที่ว่ากันว่าพลังเหลือร้าย เหมือนมันกลายเป็นแอมป์ป้อแป้ไปซะงั้น
เกิดอะไรขึ้น เปิด B อีกทีซิ ...... อุ้ย งง ครับ
ขอบอกเลยว่าเล่นเครื่องเสียงมา ไม่เคยเจออะไรแบบนี้ ใส่เข้าไปกลับเฉยๆ เอามันออกทำไมกลับฟังต่างไปเลย ผมนึกถึงเพลง "วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก" ขึ้นมาทันที
.............. เนียนครับ มันมาแบบเนียนมากเจ้า Sub Rel จิตสัมผัส นี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ผมจึงอยากจะลองฟังอย่างจริงจังซะหน่อย โดยคัดเพลงที่ฟังอยู่บ่อยๆเป็นประจำ

เพลงแรกผมลองเพลง S'Wonderful ของ Diana Krall จากอัลบั้ม The Very Best of ทดลองโดยเปิดฟังแค่ลำโพงคู่หลักก่อน ปล่อยให้มันเล่นไปเรื่อยๆ
ซึ่งอย่างที่บอก ผมคิดว่าชุดของผมลงตัวแล้ว และยิ่งได้
Cambridge 851N เข้ามาเล่นแทนเครื่อง MAC ที่ใช้อยู่ประจำ นั้นยิ่งฟังดีขึ้นมาก ทั้งรายละเอียดหยุมหยิม
เสียงกลางเปิดโปร่ง อิมเมจชัดเจน เจ้าตัว 851N นี่ไม่ธรรมดาครับ เสียงเข้าขั้น Hi-end เลยละ หลังจากนั้นผมก็เปิดใหม่ พร้อมกับเปิดซับที่ต่อไว้กับ Speaker B
แค่อินโทรขึ้นมาเท่านั้นก็เห็นความต่างขึ้นมาทันที ..... เป็นไปได้ไงเนี่ย บทเพลงมีความไพเราะมากขึ้น เสียงดับเบิ้ลเบสที่ก่อนหน้านั้น ได้ยินเพียงแผ่วเบา มาคราวนี้ได้ยินชัดเจน
ออกมาเป็นตัวเป็นตน มองเห็นชัดเจนเหมือนมือเบสมาเล่นอยู่หน้าชุดของเรา อันนี้ขอยืนยันว่าไม่ได้เขียนเกินความจริงแน่นอน เสียงร้องดูชัดถ้อยชัดคำ ดนตรีทั้งหมดฟังดูสละสลวยขึ้น
ไม่เคยฟังเพลงแล้วได้ความผ่อนคลายแบบนี้มาก่อน ...... หนุกดีแฮะ ลองใหม่ ขณะที่ฟังไปเรื่อยๆก็ปิด Sub Rel ดูอีกที ......... ความรู้สึกเหมือนครั้งแรกที่บอก มวลเสียงย่านกลางต่ำ วูบลงไปทันที
มันเป็นไปได้ไง ทั้งๆก่อนหน้านี้เราก็ฟังมันโดยไม่มี Sub Rel เราก็ว่ามันโอเคแล้วนี่ ด้วยความสงสัยอย่างแรง จึงลองเพลงต่อๆไป

หยิบเอาเพลง Crazy ของ Julio Iglesias มาลองฟังดูบ้าง พอมาเพลงนี้ชัดครับ ไม่ใช่ผมคนเดียว เพราะมีพยานรู้เห็นอย่างคุณสุพจน์ ลูกค้า Rel T7i หรือ T9i คนต่อไป
ขอโอกาสแวะเวียนมาฟังถึงที่บ้าน เพื่อพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าเจ้า Rel นี้มันเป็นอย่างที่เขาร่ำลือหรือไม่ แค่เปิดแล้วก็ปิด แล้วก็เปิด ถึงกับหลุดว่า "โอ้โห อันนี้ชัดเลยพี่

Julio Iglesias เวอร์ชั่นปิด Sub Rel กับ Julio Iglesias เปิด Sub Rel ต่างกันยังคนร้องคนละคน เหมือนเดิม .... ครั้งแรกที่เปิดฟังโดยไม่ใส่ Sub Rel ก็เพราะอยู่แล้ว
แต่พอใส่ Sub Rel เหมือนมันไปเติมเต็มทุกอย่างให้ออกมาอีกระดับ หลายคนอาจจะมองว่าเสียงที่ได้ยินแบบนี้มันก็เหมือนกับเราฟังเพลงแล้วกดปุ่ม Loudness .... นะซิ
ผิดครับ มันคนละเรื่องกันเลย Loudness ทำหน้าที่คล้ายกับบูสเสียงขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถฟังเพลงในระดับที่เบาได้ชัดขึ้นมากกว่าฟังโดยไม่ได้เปิด Loudness
แต่หลักการของ Rel นั้นนอกจากมันจะเติมเต็มความถี่ต่ำที่ลำโพงหลักของเราลงไปไม่ถึงแล้ว ในขณะเดียวกันมันก็ปล่อยคลื่นความถี่ย่านเดียวกับลำโพงหลักออกมาด้วย
เพียงแต่เราไม่สามารถจับต้องหรือฟังออกเป็นเสียงชัดเจนแบบลำโพงทั่วไปได้ เพราะมันเป็นคลื่นเสียงเบาๆ จนแทบจะไม่ได้ยิน หนุนหลังคลื่นความถี่สูง กลาง ต่ำ
ที่ปล่อยออกมาจากลำโพงหลักอีกที
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เราได้ยินเสียงเดิมๆ ฟังดูมีน้ำมีนวลขึ้น เสียงแหลมก็ดูมีมวลขึ้น โดยที่ความหยุมหยิมยังคงอยู่ ไม่ได้กุดห้วนแต่อย่างใด แถมโฟกัสก็ชัดขึ้น
ที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะฟังมันในระดับเสียงเบาๆ ก็ได้ยินเสียงครบถ้วน ไม่ต่างจากตอนเปิดฟังปกติ

ถัดมาผมลองเอาอัลบั้ม Jazz แนว Swing มาฟังดูบ้าง เป็นชุดของ Dick Hyman - From The Age Of Swing อันนี้เป็น Hi-Res นะครับ บันทึกเสียงดีมาก
และแนะนำว่า ใครที่เล่นไฟล์เพลง และยังไม่มี ให้ไปซื้อได้ที่ HD Track มาฟังเลย ทั้งเปียโน เครื่องเป่า ได้บรรยากาศแจสผับมากเหมือนยกวงมาเล่นในห้องเราทีเดียว
แผ่นนี้ทดสอบ Sub Rel ได้ดีในระดับนึง เพราะหลายๆเพลงมีจังหวะจะโคน และไดนามิกหลากหลาย ช่วงที่เบาปกติฟังก่อนหน้านี้เหมือนจะจมหายไป แต่พอมี Sub Rel ใส่เข้าไป
กลับได้ยินชัดเจนขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะตอนเล่นแค่ D1 อย่างเดียวเราก็ได้ยินมันเป็นเสียงต่ำธรรมดา แต่พอเล่นร่วมกับ Sub Rel เหมือนเสียงมันจะลงมาอยู่ข้างล่าง
หรือที่เราเรียกว่าลงพื้นชัดเจน soundstage ใหญ่โตขึ้นมาอีกระดับ และเห็นตำแหน่งดนตรีชัดเจนกว่าเดิมเยอะ ขอโทษเถอะครับ ตอนนี้ D1+T7i ของผมมันล้ำหน้าเกิน D18 ไปไกลแล้ว
ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์หลักๆ อย่างแอมป์และลำโพง ผมมักจะลองเพลง Rock เข้าไปด้วย ยิ่งคราวนี้กับ Rel ยิ่งน่าลองขึ้นเยอะ
อัลบั้ม The game ของวง Queen ฟังชุดนี้ทีไรก็ต้องไม่พลาด Another One Bites The Dust .... ตามสูตรครับ เปิด และปิด และเปิด ทั้งๆที่พอจะคาดเดาออก
ว่าจะออกมาเป็นยังไง เสียงอินโทรทั้งเบส และกระเดื่อง ออกมาชัดเจน มองภาพของเสียงกระเดื่องอยู่กลางเวทีเป๊ะ กระแทกกระทั้น เก็บตัวเร็ว
เสียงร้องท่อน Another One Bites The Dust ฟังดูมีพลังมากขึ้น แต่ดูเหมือนกระเดื่องกับเบสมันจะโด่งออกมานิด แบบนี้ก็ต้องปรับจูนซับใหม่นิดนึง
การเซ็ทอัพที่ถูกต้อง ก็คือเราต้องหาจุดที่ดี ทั้งตำแหน่ง ระดับความดัง และปรับ Crossover ที่ตัวซับ ให้เสียงจากมันกลืนเข้ากับลำโพงหลักเราให้มากที่สุด
ก็คล้ายจัดซับดูหนัง แต่อันนี้จะละเอียดอ่อนกว่า ถ้าทำได้สนิทเท่าไร คุณจะได้ยินเสียงเพลงออกมาจากลำโพงคู่เดิมๆของคุณแบบลำโพงตั้งพื้นหลายแสนมีหนาวแน่นอน

การเล่น sub Rel มันก็เหมือนเราเล่นลำโพง Spper Tweeter ที่มาเติมเต็มเสียงแหลมจากลำโพงคู่เดิม ความจริงผมอยากจะเรียก Sub Rel ว่า Super Woofer เหมือนกันนะ
เพราะเรามีอิสระในการจัดวาง ได้ง่ายกว่าลำโพงตั้งพื้น พูดง่ายๆว่า เรื่องเบสบวมแทบตัดออกไปได้เลย แถมยังลงได้ลึกกว่าลำโพงตั้งพื้นด้วย เพราะความถี่ที่ต่ำมากๆ มันถูกขับออกมาจาก
Power amp ในตัวซับอีกที ซึ่งแน่นอน มองข้ามกำลังของแอมป์ไปได้เลยว่ามันจะขับออกมาไหวหรือเปล่า แต่ในทางกลับกัน คนที่เล่นลำโพงตั้งพื้น เมื่อต่อ Sub Rel เข้าไป
คุณก็จะได้เสียงทั้งหมดยกระดับขึ้นมาอีกมาก
แล้วถ้าบางคนมองต่างละ อย่างผมเล่น Rotel 1570 อยู่ จ่ายเงินขนาดนี้เพื่อซื้อ Sub Rel ตั้ง 2 ตัว ทำไมไม่เอาแอมป์ไปเทิร์นแล้วเอา Octave 70 /80 มาเล่นซะเลย
หลักการแบบนี้เพียง Octave ตัวเดียวก็ยังทำไม่ได้ เพราะตราบใดก็ตามสมมุติตัวอย่างถ้าลำโพงหลักของคุณยังเปล่งเสียงออกมาได้แค่ 1-2-3-4-5
ต่อให้คุณเปลี่ยนแอมป์เทพ และใช้สายลำโพงหลักแสน ลำโพงมันก็ยังมีเสียง 1-2-3-4-5 เหมือนเดิม เพียงแต่รายละเอียด และบุคลิกเสียง ก็จะเป็นเสียงเดิมที่อัพเกรดขึ้นมาเท่านั้น
แต่การเอา Sub Rel เพิ่มเข้ามากับลำโพงหลัก ไม่ว่าจะระดับแปดพันบาท จนไปถึงราคาหลักล้าน คุณย่อมได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยินจากลำโพงคู่เดิมๆขึ้นมาอีกเยอะ
และอย่างที่บอก เสียงทุกย่านความถี่จะน่าฟังขึ้นอีก 30 -40% แน่นอน และเป็นเสียงที่ถ่ายทอดออกมาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่เป็นการเล่นเพื่อใส่สีสัน หรือเป็นการเล่นของคนที่หลงไหล Sub
ในเมื่อมันคือ Subwoofer ถ้าจะไม่พูดถึงเรื่องหนังก็คงกระไรอยู่
นอกจากเราจะต่อสายสำหรับฟังเพลงโดยเฉพาะทางช่อง High level input ที่ตัว Sub มันแล้ว ยามที่เราต้องการจะใช้ร่วมกับการดูหนัง
ก็ต่อสาย Subwoofer อีกเส้นเข้าที่ช่อง LFE เหมือน Subwoofer ทั่วไป ซึ่งตรงนี้ไม่ต้องห่วงเรื่องว่าจะมีปัญหาระดับความดังยามดูหนังกับฟังเพลง
เพราะมันจะมีวอลลุ่มแยกออกมาสำหรับปรับความดังของซับดูหนังต่างหาก
และเนื่องจากผมเป็นคนชอบฟังเพลงมากกว่าดูหนังอยู่แล้ว จึงต่อลำโพงคู่หน้า ร่วมเล่นกับชุดโฮมโดยใช้ระบบ By Pass
***
ซึ่งตรงนี้ต้องขอโทษหลายๆท่านที่ได้ไปอ่านกระทู้รีวิว Rotel 1570 ของผม ที่บอกว่าเสียดายมันเล่น By Pass ไม่ได้
สรุปล่าสุด หลังจากทีมงานได้ค้นหาข้อมูลและลองทดสอบดูปรากฏว่ามันเล่นได้นะครับ โดยต่อผ่านช่อง Aux 1 เท่านั้น และ set วอลลุ่มเป็น Fix ***
ส่วนเซ็นเตอร์และเซอร์ราวด์หลัง ผมใช้ลำโพง Satellite ตัวจิ๋วของ Kef ..... สิ่งที่แตกต่างจากการดูหนังผ่าน Subwoofer ของ Rel นั่นก็คือ นอกจากเราจะได้เสียง effect
ที่ส่งผ่านมาทางซับแบบปกติแล้ว เสียงบรรยากาศโดยรอบ เสียงสนทนา เสียงดนตรีประกอบ ที่ออกมาจากคู่หน้า และเซ็นเตอร์ ก็ได้อานิสงส์จากเจ้า Sub Rel มาด้วย
คือมันจะมีเนื้อหนัง มีมวลดีที่ขึ้น ยิ่งเป็นพวก Soundtrack พวกคอนเสิร์ต มันก็ไม่ต่างจากการฟังเพลงเพราะๆนั่นเอง แถมบางครั้งตัวเซอร์ราวด์หลัง ก็มีเสียงเบสหลุดมาให้เราได้ยินด้วย

นี่คือข้อดีของเจ้า Sub Rel ละครับ ดังนั้นอย่าแปลกใจที่เห็นหลายท่านเริ่มนำ Sub Rel ไปเล่นกับเซ็นเตอร์ต่างหากอีก 1 ตัว ..... ใครเห็นก็นึกว่าคนนี้บ้าเบส
แท้จริงแล้ว เขาต้องการฟังบทสนทนา หรือเสียงที่ออกมาจากลำโพงเซ็นเตอร์ ให้ไพเราะยิ่งขึ้น หรือพูดง่ายๆว่าถ้าใส่ Woofer เพิ่มไปที่คู่หน้า 2 ตัวแล้ว
มันก็ไม่แปลกที่จะใส่ไปที่เซ็นเตอร์อีก 1 ตัว แถมยังได้เวทีเสียงที่กลมกลืนกันกับคู่หน้าด้วย
มาถึงสุดท้าย มีเรื่องจะบอกก็คือ Sub Rel เมื่อเรานำมันมาฟังเพลง แล้วถ้าท่านลองปิดเสียงลำโพงหลักดู ซึ่งตามความเป็นจริง ยังไงๆเราก็ต้องได้ยิน
ว่ามีเสียงออกมาจากซับดังหรือค่อยก็แล้วแต่เพลง แต่สำหรับ Rel นั้น เวลาฟังเพลงป๊อบ หรือแจส เราแทบจะไม่ได้เสียงอะไรออกมาจากตัวมันเลย
แต่อาการเงียบๆแบบนี้ละ ถ้าขณะเราฟังเพลงอยู่ แล้วตัดมันออกไป กลับเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน นั่งมองมันยังขำในใจ เหมือนว่าซื้อมันมาตั้งเฉยๆในห้องไม่เห็นมันทำอะไรให้เราเลย

สรุปคำแนะนำเกี่ยวกับ Sub Rel กับชุดฟังเพลง ถ้าในสายตาของคนที่ยังไม่ได้สัมผัสมัน ผมอยากจะให้มองข้ามภาพลักษณ์ ว่ามันจะต้องเป็นอะไรที่หนักแน่น
กระแทกกระทั้น หรือพลังของเสียง แต่ความจริงแล้วมันคือ Subwoofer ที่ออกแบบมาเพื่อเติมเต็มย่านความถี่ต่ำ ที่ลำโพงหลักเราทำให้ไม่ได้ และในขณะเดียวกัน
มันยังไปเสริมเสียงเดิมๆของลำโพงหลักของเรา ให้มีความไพเราะยิ่งขึ้น เป็นความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้อย่างชัดเจน ไม่ว่ามือเก่า มือใหม่ก็ฟังออกว่ามันดีขึ้นมาก ทั้งนั้นครับ
เหมือนเช่นเคย กระทู้นี้เขียนเล่าจากประสบการณ์ใช้งานจริง ไม่ได้ใส่สีหรือนั่งเทียนเขียนให้อ่านกันเอามันส์
จะมีคราวนี้ที่แปลกกว่าแต่ก่อนคือ ทุกครั้งผมรีวิวอะไร ผมมักจะแนะนำให้ไปฟังด้วยตัวเอง อย่าเชื่อในสิ่งที่ผมเขียน
แต่สำหรับ Sub Rel ผมแนะนำให้เล็งตัวที่ชอบไว้ก่อน แล้วค่อยไปฟังของจริงครับ
...... เพราะยังไงก็โดนครับ เป็นการยกระดับชุดฟังเพลงของเราที่คุ้มค่าที่สุดในยุคนี้
System:Integrated Amp : Rotel RA-1570
Receiver : RX-A 1030
Speaker : Proac D1
Subwoofer : Rel T7i x 2
Speaker Cable : JPS Superconductor V
Player : Cambridge Audio Azur 851N
USB Cable : Audioquest Carbon
Line Conditioner-Stabilizer : Magnet IRG-600
*** ขอบคุณภาพประกอบงามๆจากคุณสุพจน์ด้วยครับ ***